การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ ของ โอลิมปิกฤดูร้อน 2012

สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน

สนามกีฬาโอลิมปิก ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011

กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในครั้งนี้ จะผสมผสานกันระหว่าง สถานที่จัดงานซึ่งสร้างขึ้นใหม่ โบราณสถานที่มีอยู่แล้ว และสถานที่ชั่วคราว สำหรับบางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ที่รู้จักโดยทั่วไปได้แก่ สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก และการสวนสนามของทหารม้ารักษาพระองค์ สถานที่บางส่วนจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ขณะที่อย่างอื่นจะปรับขนาดหรือโยกย้าย[21]

สถานที่จัดงานส่วนมาก แบ่งออกเป็นสามเขต ภายในเกรเทอร์ลอนดอน ประกอบด้วย เขตโอลิมปิก เขตแม่น้ำ และเขตกลาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่จัดแข่งขัน ที่จำเป็นต้องอยู่รอบนอกเขตเกรเทอร์ลอนดอน อาทิสถาบันเรือใบแห่งชาติเวย์มัธและพอร์ตแลนด์ (Weymouth and Portland National Sailing Academy) บนเกาะแห่งพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ในเมืองดอร์เซต (Dorset) ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือใบ อยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 125 ไมล์ (200 กิโลเมตร) สำหรับการแข่งขันฟุตบอลจะใช้สนามหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร[22]

โครงการอุทยานโอลิมปิกลอนดอน (London Olympic Park) ขนาด 500 เอเคอร์ เปิดเผยขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)[23] มีการอนุมัติให้ออกแบบทำเล เมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน โดย ทาวเวอร์ ฮัมเล็ทส์, นิวแฮม แฮ็กนีย์ และ วอล์ทแฮม ฟอเรสท์[24] และการก่อสร้างเริ่มขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[25] สำหรับหมู่บ้านนักกีฬาในนครพอร์ตแลนด์ เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[26]

โดยการพัฒนาของอุทยานโอลิมปิกนั้นอาจจะต้องใช้การเวนคืนพื้นที่ด้วย โดยสำนักงานการพัฒนาแห่งกรุงลอนดอนและการรถไฟลอนดอน มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีถึง 180 เอเคอร์ เป็นที่ดินของการทางรถไฟสแตรทฟอร์ด รวมไปถึงการสร้างบ้านใหม่ถึง 4,500 หลัง, สำนักงาน, โรงแรม และ ร้านค้า[27] โดยล่าสุดในปีค.ศ. 2011 ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ได้ถูกสร้างเสร็จโดย เวสต์ฟิลด์[28] โดยที่ดิน 86% มาจากการเวนคืนพื้นที่ โดยการกระทำนี้นำไปสู่การคำถามต่างๆนานา และในครั้งนั้น มี 206 บริษัทที่ต้องย้ายออกไปใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007[29] นอกจากนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝ่ายต่อต้านการเวนคืนที่ดินกับการขับไล่และความพยายามที่จะหาวิธีที่จะหยุดการกระทำนี้ แต่พวกเขาที่ต้องย้ายออกด้วยการเวนคืนทั้งหมด 94% และที่ดินอื่นๆอีก 6% ซึ่งการเวนคืนใช้เงินทั้งหมด 9 พันล้านปอนด์

การขนส่งสาธารณะ

บริการรถไฟความเร็วสูง "โอลิมปิก จาเวลีน"

ระบบการเดินทางสาธารณะในลอนดอน ได้คะแนนที่ไม่ค่อยดี ในการประเมินของ IOC อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานการบริหารเมืองของกรุงลอนดอน ก็ได้ปรับปรุงเพื่อต้อนรับการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้[30]องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน หรือ TfL ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการเดินทางสาธารณะใหม่ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) รวมไปถึงการขยายเส้นทาง รถไฟเหนือดินลอนดอน ในเส้นทางลอนดอนตะวันออก และเพิ่มเส้นทาง รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ และ การเดินรถไฟทางลอนดอนเหนือ[31]และการนำเข้ารถไฟหัวกระสุนความเร็วสูงที่มีชื่อว่า "จาเวลีน"[32]จากบริษัทฮิตาชิ[33]โดยชานชาลาที่ สถานีรถไฟนานาชาติสแตรทฟอร์ด (ออกแบบมาเพื่อรถไฟยูโรสตาร์) จะถูกนำมาใช้ในเส้นทางของการเดินรถไฟจาเวลีน[34]โดยในเครือข่ายรถไฟทั้งหมด จะเพิ่มการเดินรถ 4,000 ขบวนในช่วงที่มีการแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มตู้โดยสารในทุกๆวัน[35]

องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน ได้ทำการสร้าง เคเบิลคาร์ ด้วยเงิน 25 ล้านปอนด์ โดยเส้นทางของเคเบิลคาร์จะข้าม แม่น้ำเทมส์ ซึ่งเคเบิลคาร์นี้จะเชื่อมทุกๆสถานที่ในการแข่งขัน[36]โดยจะเปิดใช้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โดยจะข้าม แม่น้ำเทมส์ ที่ กรีนวิช เพนินซูลา กับ รอยัล ด็อคส์ ซึ่งแต่ละชั่วโมงจะนำผู้โดยสาร 2,500 คน ด้วยความสูงประมาณ 50 เมตรกลางอากาศ มันถูกออกแบบมาเพื่อลดการเดินทางระหว่าง โอทู อารีนา กับ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเอ็กซ์เซล ซึ่งเคเบิลคาร์จะให้ข้ามทุกๆ 30 วินาที[37]

รถไฟใต้ดินลอนดอน ถูกตกแต่งเพื่อโปรโมตการแข่งขันครั้งนี้

โดยการจัดการแผนนี้จะทำให้เหล่านักกีฬา 80% สามารถเดินทางไปแข่งขันได้ในเวลาที่น้อยกว่า 20 นาที[38]และนักกีฬา 93% ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที[39]โดยบริเวณ อุทยานโอลิมปิกลอนดอน จะเป็นศูนย์รวมของชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ถึง 10 สายเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีผู้โดยสารประมาณ 240,000 คนต่อชั่วโมง[40]นอกจากนี้ อีกแผนหนึ่งที่ดำเนินการไปแล้วถึง 90% ซึ่งจะมีทั้งสถานีขนส่งสาธารณะและอื่นๆ[39]ส่วนสองสวนสาธารณะที่จะถูกปิดเพื่อเป็นที่จุรถ 12,000 คันต่อ 25 นาทีจาก อุทยานโอลิมปิกลอนดอน และสามารถที่จะจุผู้คนถึง 9,000 คนเพื่อที่จะขึ้นรถบัสในทุกๆ 10 นาที[39] และการวางแผนสวนสาธารณะนี้จะอยู่ใกล้กับ แม่น้ำเทมส์ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสนามแข่งเรือพายได้[41]และในถนนบางแห่งจะปิดบางช่องทางการจราจรเพื่อที่จะเป็นช่องทางการเดินรถสำหรับแขกวีไอพีและนักกีฬา[42][43]

การกระจายเสียงและแพร่ภาพ

ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554

โอลิมปิกที่จัดขึ้นในปีนี้ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล “ดีวีซีโปร-เอชดี” ของพานาโซนิก เป็นระบบการบันทึกวีดิทัศน์การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งเข้ารับภารกิจดังกล่าวเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน (นับรวมทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว) เริ่มตั้งแต่การแข่งขันที่บาร์เซโลนาของสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (International Broadcast Centre; IBC) ภายในสวนโอลิมปิกลอนดอน เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและเผยแพร่ วีดิทัศน์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วยระบบภาพละเอียดสูง 1080/50ไอ

สำหรับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิกในลอนดอน (Olympic Broadcasting Services London; OBSL) ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ จะใช้อุปกรณ์ชุด “เอชดี-พี2” เพื่อสนับสนุนการกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขัน และใช้กล้องวีดิทัศน์พกพารุ่น “เอจี-เอชพีเอ็กซ์ 250” ซึ่งบันทึกภาพด้วยระบบ “เอวีซี-อินทรา” และผลิตโดยบริษัทเดียวกับ “เอชดี-พี2” เป็นตัวแรก กับกล้องวีดิทัศน์พกพาระบบ “เอวีซีแคม เอชดี” สองรุ่นใหม่คือ “เอจี-เอซี160” และ “เอจี-เอซี130” ด้วยมุมมองภาพละเอียดสูง และเลนส์ซูมรุ่นใหม่ ความละเอียดสูง 21 เท่าซึ่งกว้างกว่าเดิม[44]

การแข่งขันคราวนี้กำหนดการกระจายเสียงแพร่ภาพ ไปยังบรรดาผู้รับสิทธิถ่ายทอดแต่ละภูมิภาคตามสิทธิซึ่งไอโอซีกำหนด ให้สามารถถ่ายทอดโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นวงกว้างไปทั่วโลก โดยมีบรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งบริเตน (British Broadcasting Corporation; BBC) เป็นแม่ข่ายสำหรับโอลิมปิก ซึ่งวางเป้าหมายในการถ่ายทอด การแข่งขันครั้งนี้ผ่านช่องทางต่างๆ เป็นเวลารวม 5,000 ชั่วโมง[45] ส่วนโทรทัศน์ช่อง 4 แห่งบริเตนใหญ่ เป็นแม่ข่ายสำหรับพาราลิมปิก และสำหรับในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไอโอซีทำข้อตกลงกับยูทูบ เพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดสดการแข่งขันไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผ่านช่องโทรทัศน์ของไอโอซี ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของตน รวมถึงแอปพลิเคชันยูทูบในสมาร์ตโฟน และของเอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟว์ด้วย[46]

ทั้งนี้ การถ่ายทอดโทรทัศน์ในกีฬาโอลิมปิกที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ริเริ่มขึ้นโดยหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services; OBS) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Broadcasting Corporation; NBC) ถือสิทธิเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นใหญ่ จึงมีส่วนแบ่งรายได้กับไอโอซีเกินกึ่งหนึ่ง[47] ทุกวันนี้ ผู้ได้รับสิทธิถ่ายทอดการแข่งขัน มักส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้าปฏิบัติงาน ในพื้นที่แบ่งส่วนของศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (ไอบีซี) ของการแข่งขันแต่ละครั้ง โดยเริ่มปรากฏในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 15 ที่เมืองคัลการีของแคนาดาในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)

อาสาสมัคร

ผู้สร้างสรรค์การแข่งขัน (Game Maker)[48] เป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ของอาสาสมัครที่ไม่มีการจ้าง ซึ่งจะปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย ทั้งช่วงก่อนและระหว่างการแข่งขัน โดยในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ตั้งเป้าว่าจะมีอาสาสมัคร 70,000 คน[49] แต่เมื่อเปิดรับสมัครในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) กลับมีผู้ได้รับคัดเลือกถึง 240,000 คน[50] ซึ่งผู้สร้างสรรค์การแข่งขันเหล่านี้ จะปฏิบัติงานอาสาสมัคร เป็นเวลารวมประมาณ 8 ล้านชั่วโมงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวก หากปราศจากบุคคลกลุ่มนี้[51]

ใกล้เคียง

โอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 โอลิมปิกฤดูร้อน 1996

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 http://www.businesswire.com/news/home/201104100050... http://www.calgaryherald.com/sports/2012-summer-ga... http://www.engadget.com/2012/06/06/youtube-london-... http://sports.espn.go.com/espn/wire?section=oly&id... http://books.google.com/books?id=-owSi55tLZAC&pg=P... http://www.irishtimes.com/newspaper/breaking/2011/... http://www.london2012.com http://www.london2012.com/about-newlook-video.html http://www.london2012.com/athletes/country=zimbabw... http://www.london2012.com/get-involved/handover/in...